คนไทยกินข้าวแพง-ลักลอบนำเข้าพุ่ง
“นิพนธ์” วิพากษ์ร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าวละเอียดยิบ ดันเกิดผวาผู้บริโภคอ่วมกินข้าวแพง สวนทางลักลอบนำเข้าพุ่ง ชี้โครงสร้างน้ำตาล- ข้าวแตกต่างกัน มีชาวนารายย่อยเพียบ

เว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติมาตรา77 ของรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. .... (นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย กับคณะผู้เสนอ) รับฟังตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไปนั้น

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร. นักวิชาการเกียรติคุณของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ร่าง พ.ร.บ.แบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. .... จะมาเลียนโมเดลอ้อยน้ำตาลแบ่งปันผลประโยชน์ไม่ได้ เพราะโครงสร้างแตกต่างกันลิบลับ เพราะโครงสร้างอ้อยน้ำตาล มีโรงงานเพียงไม่กี่โรง แล้วจำกัดจำนวนโรงงาน แล้วโรงงานจะเป็นผู้รับซื้อ ส่วนเกษตรกรก็เป็นลูกไร่ ทำแบบคอนแทรกฟาร์มมิ่ง แล้วเกษตรกรอ้อยก็เริ่มเป็นรายใหญ่ขึ้น ขณะที่ข้าว หรือชาวนา เป็นเกษตรกรรายย่อย เป็นคนละเรื่องกันเลย แล้วจะไปแบ่งผลประโยชน์กันตรงไหน

ที่สำคัญราคาไม่ได้ถูกกำหนดในประเทศ ราคาถูกกำหนดในตลาดโลก ขณะที่ “น้ำตาล” ในเวลานี้โดนบราซิลฟ้ององค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี 2559 ในประเด็นไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ 2 ของโลก รองจากบราซิล ใช้นโยบายอุดหนุนส่งออกน้ำตาล ในลักษณะที่อาจขัดกับข้อตกลง WTO ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลก ดังนั้นก็ต้องถอยหลังโดยกำหนดราคาในประเทศให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดโลก ซึ่งทำได้เพราะมีการควบคุมการจำหน่ายในประเทศ แล้วที่เหลือดันส่งออกหมด แต่ว่าเราทำอย่างนี้กับข้าวได้หรือไม่ ปัญหาก็คือ โครงสร้างคนละโครงสร้าง เพราะแค่โครงสร้างก็น่าจะจอดแล้ว แล้วก็ไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา

“การที่พรรคการเมืองนำร่างฯ ดังกล่าวนี้เสนอเข้ามาก็มองว่าเป็นความหวังดี แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า “เป็นไปไม่ได้” แล้วอ้อยที่กำหนดราคาได้เพราะอะไร ก็เพราะบังคับให้คนในประเทศซื้อน้ำตาลในราคาแพง แล้วเงินอุดหนุนก็ไปอุดหนุดคนบริโภคต่างประเทศในการส่งออก แล้วเราจะบังคับให้คนไทยรับประทานข้าวแพง แล้วเอาเงินอุดหนุนไปอุดหนุนผู้บริโภคข้าวในต่างประเทศหรือเปล่าแล้วบังคับให้คนไทยรับประทานข้าวแพงจะยอมหรือไม่ แล้วจะบังคับอย่างไร แล้วบังคับให้ข้าวไทยแพงจะทำอย่าง และสิ่งที่จะตามมาก็คือการลักลอบนำข้าวเข้าจากเพื่อนบ้านจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรคิดให้ถี่ถ้วน ทราบว่าเป็นความหวังดี แต่มีความเป็นไปได้หรือไม่”

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ
comments powered by
|